บทความวิชาการ

การเฝ้าระวังสุขภาพด้วยตัวลูกจ้างเอง

               การดูแลสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยภายในองค์กรใดก็ตาม มิอาจพูดได้ว่า “เป็นหน้าที่ของนายจ้าง” เป็นหลัก ด้วยตัวลูกจ้างควรรู้หน้าที่ของลูกจ้างเองในด้านพฤติกรรม รูปแบบการดำเนินชีวิต ตัวลูกจ้างจะต้องดำเนินการใดหรือไม่ควรดำเนินการใดบ้าง อันจะนำไปสู่ผลของการเสื่อมทรุดในภาวะสุขภาพของลูกจ้าง มีผลทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานของลูกจ้างน้อยลง เนื้อหาต่อไปนี้เรามาศึกษาการเฝ้าระวังสุขภาพด้วยตัวลูกจ้างเองในประเด็นด้าน “สุขวิทยาส่วนบุคคล”

 

สุขวิทยาของดวงตา : ดวงตา เป็นอวัยวะสำคัญสำหรับการมองเห็นแสดงถึงภาวะสุขภาพ ความรู้สึก และอารมณ์ของบุคคล ควรดูแลรักษาดวงตา ดังนี้

 

               - ไม่ควรแหงนหน้ามองข้างบน โดยไม่มีการสวมแว่นตา เครื่องป้องกัน เช่น พื้นที่ก่อสร้าง ฝ้าเพดาน อาจมีเศษฝุ่นผงกระจาย ตกใส่ดวงตา

               - เมื่อมีสิ่งแปลกปลอมเข้าดวงตา ห้ามขยี้ตาเด็ดขาด จะทำให้เศษผงโลหะกระจาย บาดกระจกตา วิธีที่ดีที่สุดคือ ล้างตา หากไม่ออกควรพบแพทย์ในทันที

               - ควรมีระยะห่างจากงาน หนังสือ อย่างน้อย 14 นิ้วฟุต

               - เมื่อใช้สายตาทำงานนาน ควรพักสายตา วิธีการ เช่น หลับตาทั้งสองข้างชั่วครู่ แล้วคลึงตาไปมาด้วยนิ้วมือเบาๆ การประคบด้วยความร้อน จะช่วยผ่อนคลายการเกร็งของกล้ามเนื้อตาได้

 

สุขวิทยาของหู : เป็นอวัยวะสำหรับการได้ยิน และยังมีหน้าที่ในการทรงตัวอีกด้วย การดูแลรักษาสุขภาพหู ดำเนินการได้ดังนี้ 

               - ไม่ควรใช้วัตถุแข็ง แหลมคม แคะหู จะทำให้เกิดอันตรายแผลถลอก ในภาวะปกติไม่มีความจำเป็นต้องชำระล้างช่องหู ให้เช็ดล้างเฉพาะใบหูให้สะอาด

               - ขี้หู เป็นสิ่งที่ร่างกายผลิตขึ้นเป็นปกติ เกิดจากต่อมไขมัน ซึ่งอยู่บริเวณหูชั้นนอก มีประโยชน์ในการกักกันสิ่งแปลกปลอมโดยเฉพาะเชื้อโรคด้วยมีสภาวะเป็นกรดอ่อนๆ

               - สิ่งแปลกปลอมเข้าหู อาทิ มด แมลง ต้องทำให้ตายเร็วที่สุด โดยใช้น้ำมันพืช หรือกลีเซอรีนหยอดลงไป หากใช้แอลกอฮอล์จะทำให้แมลงดิ้นรนมากจะเจ็บในช่องหูอย่างรุนแรง

               - ไม่ควรสั่งน้ำมูกแรงเกินไป เพราะจะทำให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อโรคเข้าสู่หูชั้นกลาง

 

สุขวิทยาของจมูก : (ระบบการหายใจ) ตามปกติคนเราสามารถหายใจเอาอากาศเข้าไปในร่างกายได้ 2 ทาง คือ จมูก & ปาก โดยผ่านไปทางคอหอย หลอดลม และถุงลมปอด

               - ไม่ควรทนดมกลิ่นที่ฉุนและแรง ไม่ว่าจะเป็นกลิ่นเหม็น หอมก็ตาม จะเกิดอาการประสาทจมูกชา

               - ไม่ควรถอนขนจมูก จะเป็นอันตรายต่อเส้นประสาทจมูก

               - ควรสั่งน้ำมูกค่อยๆ พร้อมกันทั้ง 2 ข้าง อย่าใช้นิ้วมือสั่ง บีบจมูกข้างเดียว เพราะจะทำให้หูอื้อ และเชื้อโรคเข้าสู่
หูชั้นใน

               - หากกรณี มีปัญหาเลือดกำเดาออก ควรแหงนหน้าขึ้น ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นบริเวณหน้าผาก