กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน

คือ หน่วยงานภายใต้สังกัดของกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม โดยมีบทบาทหน้าที่ในการพัฒนาศักยภาพกำลังแรงงานไทยให้มีทักษะได้มาตรฐานสากล “Workforce with World-class Competency" โดยมีอำนาจหน้าที่

    1) พัฒนามาตรฐานฝีมือแรงงานให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล ดำเนินการส่งเสริมการทดสอบมาตรฐานและแข่งขันฝีมือแรงงาน
    2) ดำเนินการพัฒนาฝีมือแรงงานและพัฒนาระบบ รูปแบบการพัฒนาฝีมือแรงงานแก่กำลังแรงงาน
    3) ดำเนินการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน ศักยภาพแรงงาน และการเป็นผู้ประกอบการ
    4) ดำเนินการประสานและส่งเสริมให้ภาครัฐและเอกชน จัดทำแผนความต้องการแรงงานฝีมือแห่งชาติ และสร้างเครือข่ายการพัฒนาฝีมือแรงงาน
    5) ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
    6) ส่งเสริมการมีส่วนร่วม ประสานความเชื่อมโยง สร้างและพัฒนาเครือข่ายการพัฒนาศักยภาพกำลังแรงงานทั้งในและต่างประเทศ

เกี่ยวกับกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน

ประโยชน์ของมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ

    1) เปิดโอกาสให้ผู้มีประสบการณ์ในการทำงานทราบ ระดับฝีมือความรู้ความสามารถและทัศนคติในการทำงานของตนและพัฒนาไปสู่มาตรฐานที่สูงขึ้นเพิ่มรายได้และความก้าวหน้าในอาชีพ
    2) สามารถนำหนังสือรับรองว่าเป็นผู้ผ่านการทดสอบ มาตรฐานฯ ประกอบเอกสารในการสมัครงานทั้งในประเทศ และต่างประเทศเพิ่มโอกาสในการทำงาน
    3) ผู้ผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ สามารถเพิ่มโอกาสในการรับค่าจ้างตอบแทนที่เป็นธรรม

    ความร่วมมือกับภาคเอกชนเเละภาคการศึกษา
    การเเก้ปัญหาขาดเเคลนเเรงงานฝีมือจะประสบความสำเร็จต้องเกิดจากความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐและเอกชน ทั้งในการผลิตแรงงานใหม่ให้ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน และพัฒนาแรงงานที่ทำงานอยู่แล้วโดยการยกระดับทักษะฝีมือให้สูงขึ้น